ส.บอลมอบรางวัลยอดเยี่ยมเชิ๊ตดำ
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย จัดงานมอบรางวัลแก่ผู้ตัดสิน ณ ม.กรุงเทพธนบุรี
กิจกรรมครั้งนี้นำโดย พล.ต.ท. อำนวย นิ่มมะโน โฆษกสมาคมฯ และ คุณ พัณณิภา คำนึง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผู้ตัดสิน
โดยนอกจากการมอบรางวัลผู้ตัดสินดีเด่นแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆเช่นการต้อนรับผู้ตัดสินรุ่นใหม่ และแข่งขันฟุตบอลภายใน
สำหรับการมอบรางวัลจะแบ่งออกเป็น 6 รางวัล คือ
1. ผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินดีเด่น ในระดับ T1 (โตโยต้า ไทยลีก) ได้แก่
2. ผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินดีเด่น ในระดับ T2 (M-150 แชมเปี้ยนชิพ)
3. ผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินดีเด่น ในระดับ T3 (ออมสิน ลีก โปร)
4. ผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินดีเด่น ในระดับ T4 (ออมสิน ลีก)
5. ผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินหญิงดีเด่น
6. ผู้ตัดสินฟุตซอลและฟุตบอลชายหาดดีเด่น
ภายในงาน พล.ต.ท. อำนวย นิ่มมะโน โฆษกสมาคมฯ กล่าวว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานการจัดงานเลี้ยงปีใหม่สมาชิก ผู้ประเมินผู้ตัดสินและผู้ตัดสินประจำปี 2562 สมาคมฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของท่านทุกๆคน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและแสดงถึงน้ำใจไมตรีของสมาคมฯ จึงได้จัดงานเลี้ยงปีใหม่นี้ขึ้นในทุกๆ ปี กิจกรรมต่างๆ ของพวกท่านได้เริ่มตั้งแต่เช้า มีการจัดกิจกรรมการรับน้องผู้ตัดสินรุ่น 26 แล้วต่อด้วยการจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล 8 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี พี่-น้องชาวผู้ตัดสิน และค่ำคืนนี้เป็นการร่วมรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน มีการจับสลากของรางวัลเล็กๆน้อยๆ รวมถึงมีการมอบโล่รางวัลผู้ตัดสินดีเด่น ซึ่งถือเป็นประเพณี การปฏิบัติ สืบทอดกันมาในทุกๆปี”
“สิ่งสำคัญที่จะขอฝากพวกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะทำให้การจัดการแข่งขัน เป็นไปได้ด้วยความยุติธรรม ถูกต้อง พวกท่านทำหน้าที่เป็นท่านเปา ตัดสินการแข่งขัน ต้องมีความยุติธรรมและสุจริต กฏ ระเบียบ ช้อบังคับต่างๆ ท่านต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพราะท่านต้องไปตัดสินผู้เล่น ตัดสินตามกฏ กติกาที่ถูกต้องที่มีการเปลี่ยนแปลงไปหลายๆอย่าง และตอนนี้ก็มีการนำ VAR มาใช้ช่วยในการตัดสินการแข่งขันด้วย”
“นอกจากนี้ สมาคมฯ ได้จัดการประชุมของสโมสรสมาชิกในไทยลีก 1-4 ชี้แจงระเบียบเพิ่มบทลงโทษให้แก่สโมสรสมาชิกเรื่องวีดีโอช่วยตัดสิน หรือ VAR ที่จะใช้อย่างเต็มรูปแบบในฤดูกาล 2019 ก็จะขอสรุปสาระสำคัญให้พวกท่านได้ทราบ ดังนี้”
“บุคลลใดรบเร้า ข่มชู่ ผู้ตัดสินให้ใช้วีดีทัศน์ช่วยในการตัดสิน (VAR) เข้าไปในบริเวณการตรวจสอบวีดีทัศน์ (RRA) ของผู้ตัดสิน เข้าไปในห้องปฏิบัติการของวีดีทัศน์ (VOR) ชี้นำหรือข่มขู่ให้ผู้ตัดสิน ตัดสินไปในทางใดทางหนึ่งหรือการกระทำใดๆ ที่เป็นรบกวน ขัดขวางการใช้วีดีทัศน์ในการช่วยตัดสิน (VAR) ไม่ว่าจะด้วยประการใดๆ จะต้องถูกลงโทษ ปรับเงินตั้งแต่ 10,000 ถึง 50,000 และ หรือ ห้ามปฏิบัติหน้าที่ 1-2 นัด”
“องค์การสมาชิกทีมเหย้า ไม่จัดสถานที่สำหรับการช้วีดีทัศน์ในการช่วยตัดสิน (VAR) ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการจัดการแข่งขันของสมาคมฯ จะต้องถูกลงโทษปรับเงิน 20,000 ถึง 50,000 บาท”
“ผู้ช่วยผู้ตัดสินวีดีทัศน์ 1 (VAR) และผู้ช่วยผู้ตัดสินวีดีทัศน์ 2 (AVAR) มีหน้าที่ในการตรวจสอบวีดีทัศน์ช่วยในการตัดสินให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ โดยมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ตลอดการแข่งขัน หากปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง โดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จะมีความผิด ตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล กีฬาฟุตซอล และ กีฬาฟุตบอลชายหาด ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2561 ที่สมาคมให้ประกอบใช้”
https://line.me/R/ti/p/%40clic88th